ชื่อไทย ตูหนา ไหลหูดำ
ชื่อสามัญ TRUE EEL
ชื่อวิทยาศาสตร Anguilla bicolor
ถิ่นอาศัย พบอยู่ตามปากแม่น้ำและป่าชายเลน ปลาจะเลี้ยงตัวในบริเวณดังกล่าวแล้วค่อยๆ ย้ายถิ่นเข้ามาในแม่น้ำตอนลึกจนเป็นตัวเต็มวัย พบปลาตูหนาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ . ศ . 2469 จับได้จากคลองบางกะปิ กรุงเทพมหานคร มีความยาว 64 ซม . พบมากทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่ จ . ระนอง ไปจนถึงมาเลเซียและดินโดนีเซีย ทางภาคเหนือพบในบริเวณลุ่มน้ำสาละวิน ซึ่งอยู่แถบมหาสมุทรอินเดีย ปลาตูหนาชนิดนี้ได้เดินทางขึ้นไปถึงแม่ปายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวบ้านเรียก
" ปลาสะแงะ "
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาสองน้ำมีเกล็ดเล็กละเอียด มีรูปร่างคล้ายกับปลาไหล ลำตัวอ้วนป้อมและสั้นกว่า ปากเรียวเล็กและอยู่ปลายสุดมีฟันขนาดเล็กและแหลมคม ครีบหูกว้างกลมมน ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันไม่มีครีบท้อง จุดเริ่มต้นของครีบก้นอยู่ประมาณกึ่งกลางตัว ส่วนจุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าครีบก้นมาก ปลาในวัยอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำจืด จนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มวัย ครีบอกมักมีสีคล้ำ ในตัวเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านหลัง ด้านท้องมีสีขาว ในปลาวัยอ่อนมีรูปร่างคล้ายวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ
การสืบพันธุ์ - อาหารธรรมชาติ กินปลา กุ้งและปูนา
การแพร่กระจาย - สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ