ชื่อไทย ตะพาก ปีก
ชื่อสามัญ GOLDEN BELLY BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypsibarbus wetmorei
ถิ่นอาศัย อยู่ตามแหล่งน้ำไหลที่มีกระแสน้ำเชี่ยว ในบริเวณที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 2 - 3 เมตร มีพื้นที่เป็นกรวดทราย หรือดินปนทรายพบตามลำน้ำปิง ลุ่มน้ำสาละวิน ภาคกลางพบในแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคอีสานพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาวและอยู่ในสกุลเดียวกัน โดยทั่วไปจะมีลำตัวสีเหลืองทองบริเวณส่วนหลังจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ครีบหลังและครีบหางสีส้มแกมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลือง วิธีการในการสืบพันธุ์วางไข่ของปลาชนิดนี้เป็นที่ร่ำลือกันมากที่จังหวัดตากในเขตอำเภออุ้มผาง คือ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งตกราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ปลาตะพากทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเวียนว่ายเคล้าเคลียรวมกันเป็นฝูงใหญ่นับเป็นจำนวนพัน จำนวนหมื่น ในขณะผสมพันธุ์ปลาทุกตัวจะรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนและเบียดเสียดยัดเยียดกันจนตัวที่อยู่ด้านบน ตัวจะลอยอยู่พ้นน้ำ อาการเช่นนี้ชาวบ้านเรียกว่า " ปลากอง " คือปลามารวมกองกันอยู่ในบริเวณเดียวกัน
การสืบพันธุ์ - อาหารธรรมชาติ กินพืชน้ำ แมลงและตัวอ่อนของแมลงน้ำ
การแพร่กระจาย - สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ