ชื่อไทย
แก้มช้ำ ขาวสมอมุก ปก ปกส้ม ลาบก หางแดง
ชื่อสามัญ RED - CHEEK BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์ Systomus orphoides
ถิ่นอาศัย พบทั่วไปตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง มีชื่อเรียกแตกต่างเป็นหลายชื่อตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคกลางเรียกปลาแก้มช้ำ ภาคใต้เรียกปลาลาบก ภาคเหนือเรียกปลาปก ส่วนชื่อปลาขาวสมอมุก เรียกกันในแถบภาคอีสาน ลักษณะทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่ป้อมกว่า ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้นและเล็ก 2 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าแฉก มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและส่วนหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน กระพุ้งแก้มมีแต้มสีส้มหรือแดงเรื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีแถบสีดำ ครีบหลัง ครีบก้นครีบท้องสีแดงเรื่อ ครีบหางสีแดงสดจะมีแถบสีคล้ำทั้งขอบบนและล่าง ที่โคนหางมีจุดกลมสีคล้ำ
การสืบพันธุ์ สามารถเพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมน หลังฉีดปลา 3 ชั่วโมง ปลาตัวผู้จะเริ่มคลอเคลียตัวเมีย จึงจับมาทำการผสมเทียมแบบแห้ง แล้วนำไปฟักโดยให้เกาะติดพันธุ์ไม้น้ำหรือรังเทียม จะใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 20 - 22 ชั่วโมง หรือเพาะโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้ผสมกันเอง ซึ่งตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังฉีดฮอร์โมน 5 - 6 ชั่วโมง ไข่มีลักษณะกลม เป็นไข่ติด สีเหลืองใส
อาหารธรรมชาติ กินแมลง ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
การแพร่กระจาย - สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ