ชื่อไทย กะแหทอง กะแห ตะเพียนหางแดง เลียนไฟ ลำปำ
ชื่อสามัญ SCHWANENFELD'S TINFOIL BARB
ชื่อวิทยาศาสตรBarbodes schwanenfeldi
ถิ่นอาศัย พบตามแม่น้ำลำคลองหนองบึงทั่วทุกภาค ทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น เช่น พบในภาคกลางเรียก กระแห ตะเพียนหางแดง หรือกระแหทอง ทางภาคใต้เรียกปลาลำปำ ส่วนภาคอีสานเรียก ปลาเลียนไฟ
ลักษณะทั่วไป รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหางใหญ่ ปลายเป็นแฉกลึก กระโดงหลังสูงกว้างมีก้านครีบเดียวที่แข็งและขอบหยักเป็นฟันเลื่อยอยู่อันหนึ่ง สีพื้นของลำตัวเป็นสีขาวเงินหรือสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว กระโดงหลังสีแดงและมีแถบดำที่ปลายกระโดง ขอบบนและล่างของครีบหาง มีแถบสีดำข้างละแถบ
การสืบพันธุ์ - อาหารธรรมชาต กินพืชพรรณไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
การแพร่กระจาย - สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ