ชื่อไทย หัวตะกั่ว หัวเงิน
ชื่อสามัญ BLUE PANCHAX
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aplocheilus panchax
ถิ่นอาศัย พบตามแหล่งน้ำตื้นๆ ทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล มีพันธุ์ไม้ปกคลุม พบเห็นได้ทั้งในน้ำกร่อยและน้ำจืด พบในที่ลุ่มภาคกลาง แถบลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา จับได้มากที่ จ . สุโขทัย ภาคใต้พบตามเกาะใน จ . ระนอง
ลักษณะทั่วไป ขนาดเล็ก ลำตัวยาว ด้านข้างแบน แนวสันหลังเกือบเป็นเส้นตรง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากแบนและสั้น ปากเล็กอยู่ปลายสุด นัยน์ตาโตและอยู่ในแนวเดียวกันกับสันหลัง มีความสามารถในการเปลี่ยนสีลำตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นการอำพรางศัตรูของมัน โดยปกติลำตัวมีสีเหลืองจางๆ หลังสีเขียวปนดำ ท้องสีเหลืองและจุดประสีดำเรียงเป็นแถว 3 - 4 แถว ครีบทุกครีบสีเหลืองปนส้ม ครีบหลังมีจุดดำขนาดใหญ่หนึ่งจุดอยู่ที่ฐานของครีบ ครีบก้นที่ฐานสีส้ม ส่วนที่อยู่ถัดออกไปมีริ้วสีแดงสลับกับจุดสีดำ ครีบหลังและครีบก้นกลมมน ระหว่างลูกตามีจุดสีขาวเหมือนสีตะกั่วตัดขนาดใหญ่ 1 จุด ขนาดยาวประมาณ 3 - 6 ซม . ใหญ่ที่สุดยาว 8 ซม .
การสืบพันธุ์ - อาหารธรรมชาต กินแมลงและตัวอ่อนแมลง
การแพร่กระจาย - สถานภาพ (ความสำคัญ) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม