ชื่อไทย หางไหม้ หางเหยี่ยว
ชื่อสามัญ BALA SHARK
ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilus melanopterus

ถิ่นอาศัย ในอดีตชุกชุมในที่ราบลุ่มตลอดลำแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะบึงบอระเพ็ดพบมากที่สุด ปัจจุบันสูญหายไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติ อาศัยในแม่น้ำและที่น้ำหลาก พบตั้งแต่ลุ่มน้ำ แม่กลองถึงลุ่มน้ำโขงและบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดที่สวยงามที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีขาวเงินวาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีเหลืองและขอบเป็นแถบดำ ปลาหางไหม้ว่ายน้ำปราดเปรียว และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก
การสืบพันธุ์ - อาหารธรรมชาต กินตัวอ่อนแมลง แพลงก์ตอนพืชและสัตว์
การแพร่กระจาย - สถานภาพ (ความสำคัญ) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม